ความสำคัญของการสอบบัญชี

การบริหารการเงินของธุรกิจที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อแสดงถึงความสามารถในการดำเนินการของฝ่ายจัดการ และการบันทึกบัญชีที่จัดทำขึ้นก็เพื่อแสดงฐานะของกิจการ ณ วันสิ้นงวดบัญชีให้แก่ผู้เกี่ยวข้องอันประกอบด้วย ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร ฝ่ายจัดการ ผู้ลงทุน ส่วนราชการ ได้ทราบ งบการเงินดังกล่าวจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในการตรวจสอบความถูกต้องตามหลักบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปกับหลักฐานและเอกสารต่างๆ

สำหรับงบการเงินที่จะได้รับจากการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีจะส่งผลดีกับธุรกิจดังนี้

  • มีการประเมินความเสี่ยงช่วยลดความผิดพลาด การตรวจสอบของผู้สอบบัญชีจะทำการตรวจสอบบนพื้นฐานความเสี่ยง นั้นหมายความว่าผู้สอบบัญชีจะต้องมีการประเมินความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญที่จะทำให้งบการเงินมีข้อผิดพลาด ไม่เป็นไปตามมาตรฐานรายงานทางการเงินและระบบการควบคุมภายในที่ดี ซึ่งหากผู้สอบบัญชีพบข้อบกพร่องในระบบการควบคุมภายในจะต้องมีการรายงานให้ผู้มีหน้าที่กำกับดูแลการจัดทำงบการเงิน ซึ่งอาจเป็นผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายก็จะเป็นประโยชน์ให้บริษัททราบถึงจุดอ่อนในระบบการควบคุมภายใน เพื่อดำเนินการแก้ไข ป้องกัน จุดอ่อนดังกล่าว
  • ใช้งบการเงินอย่างมั่นใจ ประโยชน์ถัดมาคือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้งบการเงินตามที่กล่าวมา เพื่อให้มั่นใจได้ว่างบการเงินที่ถูกเผยแพร่ออกมานั้นได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี และปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินได้นำงบการเงินไปช่วยในการตัดสินใจอย่างถูกต้อง

กระบวนการสอบบัญชีแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 : วางแผนงานตรวจสอบ ประเมินความเสี่ยง และกำหนดวิธีการตรวจสอบ

1.1 การพิจารณารับงานสอบบัญชี

1.2 การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ

1.3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น

1.4 การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ

1.5 การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้และความเสี่ยงสืบเนื่อง

1.6 การทำความเข้าใจระบบการควบคุมภายในและการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม

1.7 การพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวมและการจัดทำแนวการสอบบัญชี

ขั้นตอนที่ 2 : ปฏิบัติงานตรวจสอบ

2.1 วงจรรายได้

2.2 วงจรรายจ่าย

2.3 วงจรการผลิต

2.4 วงจรการลงทุน

2.5 วงจรการจัดหาเงิน

2.6 การตรวจสอบที่สำคัญเพิ่มเติม

ขั้นตอนที่ 3 : สรุปผลการตรวจสอบและออกรายงานผลการตรวจสอบ

3.1 การประเมินผลจากหลักฐานการสอบบัญชี

3.2 การเสนอรายการปรับปรุงและรายการจัดประเภทบัญชี

3.3 การออกรายงานการสอบบัญชี

เมื่อผู้สอบบัญชีเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจสอบเพื่อออกรายงานผลการตรวจสอบ ความเห็นของผู้สอบบัญชีที่มีต่องบการเงินจะมี 4 แบบคือ

1. แบบไม่มีเงื่อนไข

2. แบบมีเงื่อนไข

3. แบบงบการเงินไม่ถูกต้อง

4. แบบไม่แสดงความเห็น

ให้บริการตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีไทยที่กำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) และ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)

  • มีประสบการณ์ทำงานทางด้านตรวจสอบบัญชีกับบริษัทตรวจสอบบัญชี Big4 หลากหลายประเภทธุรกิจ รวมถึงด้านการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์และธุรกิจ SMEs ต่างๆ
  • ตรวจสอบงบการเงิน อย่างถูกต้อง ทันเวลา และเชื่อถือได้ พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้งบการเงินสะท้อนความเป็นจริงของกิจการ เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน และสามารถนำไปยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

อัตราค่าบริการตรวจสอบบัญชีเริ่มต้น 10,000 บาท

อัตราค่าบริการตรวจสอบบัญชี งบเปล่า 10,000 บาท (รวมค่าบริการปิดงบการเงินแล้ว)

สอบถามเพิ่มเติม

จดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนบริษัท