ปัจจุบันหลายภาคธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่มใช้แรงงานต้องอาศัยคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในเมืองไทย ดังนั้นการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวจึงเป็นสิ่งที่นายจ้างทุกคนต้องรู้และทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง ไม่เป็นการกระทำผิดตามกฎหมาย ข้อมูลที่นำมาบอกเล่านี้จะช่วยให้นายจ้างทุกคนปฏิบัติตามและสามารถจ้างแรงงานได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลใด ๆ ทั้งสิ้น
มติ ครม. ล่าสุดเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว
ทางคณะ ครม. ได้มีการประชุมและเห็นชอบในด้านวิธีบริหารจัดการกับแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้แก่ เมียนมาร์, ลาว, กัมพูชา เพื่อช่วยสนับสนุนเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
- กลุ่มแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติที่ยังดำเนินการผิดกฎหมาย ไม่มีการขออนุญาตทำงานให้ถูกต้อง ยังคงอาศัยและทำงานในเมืองไทยได้โดยต้องทำตามแนวทางให้ถูกกฎหมาย ดังนี้
- นายจ้างทำการยื่นขออนุญาตการทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวภายใน 30 วัน (เลยกำหนดระยะเวลาแล้วในตอนนี้) ซึ่งแรงงงานต่างด้าวจะมีสิทธิ์ทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
- แรงงานต่างด้าวเข้ารับการตรวจสุขภาพ ห้ามมิให้มีโรคต้องห้าม จากนั้นดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือซื้อประกันสุขภาพ
- ดำเนินการจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล (Biometrics) ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565
- ดำเนินการตรวจอนุญาต (ตรวจวีซ่า) เพื่อให้อยู่อาศัยในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราว ต้องดำเนินการไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม 2565 มิเช่นนั้นจะอยู่ได้แค่วันดังกล่าว (ไม่ถึง 13 กุมภาพันธ์ 2565)
- กลุ่มแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติที่มีการขออนุญาตทำงานอย่างถูกต้องตามปกติอันเป็นไปตามมติวันที่ 29 ธันวาคม 2563 แต่กระบวนการต่าง ๆ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ สามารถยื่นคำขออนุญาตทำงานไม่เกินเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งจะทำงานได้ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม 2565 หากแรงงานกลุ่มนี้ต้องการทำงานต่อไปจนถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566 ต้องมีการตรวจสุขภาพ ตรวจโรคต้องห้ามไปตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2564 และต้องอัปเดตทะเบียนประวัติของตนเองไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม 2565
ค่าธรรมเนียมในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่าด้าวรอบล่าสุด
- กลุ่มใช้แรงงาน / งานด้านกรรมกร 12,000 บาท / คน
- กลุ่มงานรับใช้ภายในบ้าน 12,900 บาท / คน
แม้ข้อมูลเหล่านี้บางส่วนต้องดำเนินการตั้งแต่ปี 2564 ที่ผ่านมา แต่ก็ช่วยให้นายจ้างทุกคนทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวได้มากขึ้น และต้องคอยจับตาดูมติของ ครม. ในครั้งถัดไปว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือมีข้อกำหนดกฎหมายใด ๆ เพิ่มเติมเข้ามาอีก เพื่อให้การจ้างงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สบายใจทั้งนายจ้างและลูกจ้าง สร้างผลลัพธ์ในการทำงานให้ออกมาตรงตามที่คาดหวังเอาไว้นั่นเอง