สำหรับคนที่วางแผนอยากทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลจำนวนมากมักมีข้อสงสัยในเรื่องของการจดทะเบียนว่าควรจดรูปแบบบริษัท หรือจดในลักษณะของห้างหุ้นส่วนจำกัดดี มาศึกษาข้อมูลกันให้ชัดเจน พร้อมเข้าใจถึงความต่างของการจดทะเบียนนิติบุคคลทั้ง 2 รูปแบบนี้ รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ ที่น่าสนใจเพื่อใช้ประกอบแล้วลองพิจารณาให้เหมาะสมกับแนวทางการทำธุรกิจของตนเองมากที่สุด
ความแตกต่างของการจดทะเบียนบริษัทและห้างหุ้นส่วนจำกัด
สำหรับข้อแตกต่างในการจดทะเบียนนิติบุคคลระหว่างรูปแบบบริษัทกับห้างหุ้นส่วนจำกัด จะแยกได้หลายประเด็น นำไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อวางแผนกันได้เลย
- จำนวนบุคคลร่วมลงทุน / ถือหุ้น / ก่อตั้ง
บริษัทจำกัด – ไม่ต่ำกว่า 3 คน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด – ไม่ต่ำกว่า 2 คน
- รูปแบบการลงทุน
บริษัทจำกัด – ต้องลงทุนแบบ “ทุนเรือนหุ้น” หรือ Capital Stock แบ่งทุนออกเป็นหุ้น ๆ โดยมีมูลค่าเท่ากันอย่างน้อย 5 บาท จากนั้นหุ้นส่วนทุกคนทำการถือหุ้นด้วยการลงทุนเป็นตัวเงิน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด – ไม่ต้องมีทุนเรือนหุ้น ไม่มีขั้นต่ำทุนจดทะเบียน จะลงทุนด้วยตัวเงิน ทรัพย์สิน แรงงาน ก็ได้ทั้งหมด
- ความรับผิดชอบทางด้านหนี้สิน
บริษัทจำกัด – รับผิดชอบเฉพาะเงินลงทุนกับหุ้นที่ยังไม่ได้ทำการชำระ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด – แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ หุ้นส่วนผู้จัดการ รับผิดชอบไม่จำกัดจำนวน, หุ้นส่วนทั่วไป รับผิดชอบจำกัดจำนวน
- การประชุมสามัญประจำปี
บริษัทจำกัด – มีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นทุกปี
ห้างหุ้นส่วนจำกัด – ไม่ต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นก็ได้
- การปิดงบบัญชีประจำปี
บริษัทจำกัด – ผู้สอบบัญชีได้รับอนุญาตเซ็นปิดงบได้เท่านั้น
ห้างหุ้นส่วนจำกัด – ผู้สอบบัญชีได้รับอนุญาตหรือผู้สอบบัญชีภาษีอากรเซ็นปิดงบได้ทั้งหมด
- การชำระตามอัตราภาษี
- กรณีเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป ให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ
- กรณีเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 30 ล้านบาท ต่อเนื่องกัน
0 – 300,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี
300,001 – 3,000,000 บาท อัตราภาษี 15%
กำไรส่วนเกินกว่า 3,000,000 บาท อัตราภาษี 20%
- ระยะเวลาการจดทะเบียน
ทุกวันนี้การจดทะเบียนบริษัทและห้างหุ้นส่วนจำกัดจะใช้ระยะเวลาไม่มากมีทั้งแบบจดทะเบียนทางออนไลน์และแบบกระดาษที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งจะมีรูปแบบและระยะเวลาที่ต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น
ทั้งหมดนี้คือข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการจดทะเบียนบริษัทกับห้างหุ้นส่วนจำกัด จะเห็นว่ามีบางเรื่องที่ยังต่างกันพอควร เช่น ค่าใช้จ่าย, การลงทุน, การปิดงบการเงิน หรือการรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้น และยังมีเรื่องความน่าเชื่อถือที่ปกติแล้วบริษัทจำกัดจะดูน่าเชื่อถือมากกว่า แต่กับบางธุรกิจที่ขนาดไม่ใหญ่มากนัก การเปลี่ยนจากบุคคลธรรมดามาเป็นนิติบุคคลในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัดก็ถือว่าตอบโจทย์ได้ไม่น้อยเช่นกัน