เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม บทลงโทษภายหลังการจ่ายภาษีที่ล่าช้า

เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม

เมื่อเราจะพูดถึงภาษีแล้ว มันก็คือหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนในประเทศหนึ่ง ๆ เช่นในประเทศไทย ซึ่งภาษีต่าง ๆ นั้นจะถูกส่งไปยังภาครัฐ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยทำให้ภาครัฐซึ่งเป็นฝ่ายที่ดูแลประชาชนสามารถนำไปพัฒนาประเทศต่อไปได้อย่างยาวนานและยืนยง โดยภาษีนั้นจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีรายได้อยู่ประจำ และภาษีก็จะขึ้นอยู่กับอาชีพและรายได้ของคน ๆ นั้นอีกด้วย

ซึ่งสำหรับประโยชน์ของภาษีนั้น นอกจากจะนำไปพัฒนาประเทศแล้วนั้น ในทางความหมายของเศรษฐศาสตร์แล้ว มันก็คือเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมพฤติกรรมผู้คน เช่น เมื่อเราต้องลดการสูบบุหรี่ ก็จะต้องเพิ่มภาระในด้านภาษีทางด้านบุหรี่ ก็จะทำให้คนสูบบุหรี่น้อยลง เป็นต้น

เพราะฉะนั้นภาษีจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการบริหารบ้านเมือง ซึ่งเราในฐานะพลเมืองของประเทศจะต้องใส่วนร่วมในการเสียภาษีเพื่อการพัฒนาประเทศนั่นเอง และเพราะแบบนี้เอง ถ้าหากเราไม่ยอมจ่ายภาษีทั้ง ๆ ที่เรามีสิทธิที่จะต้องจ่ายแล้ว สิ่งที่เราจะต้องประสบพบเจอก็คือ เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม นั่นเอง

สำหรับเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้น เป็นสิ่งที่เราจะเจอภายหลังที่เราจ่ายภาษีล่าช้า โดยในเบี้ยปรับนั้น มันก็คือ เงินที่ต้องชดเชยความเสียหายให้แก่ภาครัฐ ซึ่งจะคำนวณจากค่าภาษีที่จ่ายไม่ครบในอีก 1-2 เท่าของภาษีเลยทีเดียว และในส่วนของเบี้ยปรับนี้จะแบ่งการจ่ายออกเป็น 2 รูปแบบ นั่นก็คือ ในรูปแบบที่ไม่ยื่นแบบภาษีภายในกำหนด ที่จะต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของภาษีที่เราต้องจ่าย หรือจะเป็นยื่นแบบทันกำหนด แต่เสียภาษีไม่ครบ ซึ่งจะต้องเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของภาษีที่เราต้องจ่าย

ซึ่งในส่วนของเบี้ยปรับนี้จะเสียไปพร้อมกับเงินเพิ่ม ซึ่งมันก็คือ เงินเร่งด่วนที่ผู้เสียภาษีจะต้องจ่ายภาษีให้เร็วและถูกต้อง โดยจะคำนวณจากค่าภาษีที่จ่ายไม่ครบอีก 1.5% ต่อเดือน ซึ่งเงินเพิ่มนี้จะต้องเริ่มจ่ายตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบแล้วนั่นเอง

ซึ่งด้วยเพราะมันมีการจ่ายที่พร้อมกัน จึงทำให้มันถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอันเดียวกัน และถูกเรียกไปในชื่อเดียวว่าเป็น “เบี้ยปรับเงินเพิ่ม” นั่นเอง นอกจากนี้ ในเรื่องของเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้น ยังสามารถของดในการจ่ายได้อีกด้วย ซึ่งเราจะต้องชำระภาษีพร้อมทั้งเงินเพิ่มตามกำหนดภายในสามเดือนนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ซึ่งเพียงเท่านี้ก็จะช่วยในให้คำร้องของดเบี้ยปรับได้สำเร็จนั่นเอง

ดังนั้นแล้ว เราจะเห็นได้ว่า ในการชำระภาษีนั้น ในส่วนของเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้นเป็นสิ่งที่เราจะต้องรู้เอาไว้เป็นอย่างยิ่ง เพราะมันจะช่วยทำให้การจ่ายภาษีหรือแม้แต่ในเวลาไม่ได้จ่ายภาษีนั้น เราจะต้องเจอกับอะไร และเราสามารถจัดการกับการชำระเงินได้อย่างไรนั่นเอง

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม ค่าปรับอาญา ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้า

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม-ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ค่าปรับอาญา กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภพ.30 (ไม่เคยยื่นแบบมาก่อน)

กำหนดการยื่นแบบ ภพ.30 ทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

  • กรณียื่นแบบเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน ปรับ 300 บาท
  • กรณียื่นแบบเกินกำหนดเวลาและเกิน 7 วัน ปรับ 500 บาท

เงินเพิ่ม

  • คิดในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

เบี้ยปรับ

1.กรณียื่นเพิ่มเติม คิดเบี้ยปรับในอัตรา 2% – 20% (เคยยื่นแบบมาแล้ว)

  • ถ้าชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2%
  • ถ้าชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5%
  • ถ้าชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10%
  • ถ้าชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20%

2.กรณีไม่ได้ยื่นแบบมาก่อน

  • ถ้าชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2% x 2 เท่า
  • ถ้าชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5% x 2 เท่า
  • ถ้าชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10% x 2 เท่า
  • ถ้าชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20% x 2 เท่า

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม – ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรณียื่นแบบ ภงด.90,ภงด.91, ภงด.94 เกินกำหนดเวลา

  • ค่าปรับอาญา ถ้ายื่นแบบภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท
  • ค่าปรับอาญา ถ้ากรณียื่นแบบเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท
  • เงินเพิ่ม อีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม – ภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรณียื่นแบบ ภงด.50 และ ภงด.51 เกินกำหนดเวลา

  • ค่าปรับอาญา กรณียื่นแบบภายใน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท
  • ค่าปรับอาญา กรณียื่นแบบเกิน 7 วัน ปรับ 2,000 บาท
  • ค่าปรับอาญาไม่ยื่นงบการเงิน ค่าปรับ 2,000 บาท
  • เงินเพิ่ม ในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม – ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

กรณียื่นแบบ ภงด.1,2,3,53,54 เกินกำหนดเวลา

  • ค่าปรับอาญา กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท
  • ค่าปรับอาญา กรณียื่นเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท
  • เงินเพิ่ม ในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้า จะมีค่าปรับ 2 ส่วน คือ

กรมสรรพากร

  • ค่าปรับอาญา กรณียื่นภายใน 7 วัน ค่าปรับแบบ 1,000 บาท
  • ค่าปรับอาญา กรณียื่นเกิน 7 วัน ค่าปรับแบบ 2,000 บาท
  • ค่าปรับอาญา กรณียื่นงบการเงินเกินกำหนดเวลา ค่าปรับ 2,000 บาท
  • เงินเพิ่ม คำนวณจากยอดต้องชำระ (ถ้ามี) * 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ยื่นงบล่าช้าเบี้ยปรับการนำส่งประกันสังคม

  • ขั้นต่ำ 1,650×5%=82.50 บาท/เดือน
  • ขั้นสูง 15,000×5%=750 บาท/เดือน
  • เบี้ยปรับชำระในอัตรา 2% ต่อเดือน

ค่าเบี้ยปรับกองทุนทดแทน

หลักเกณฑ์ของการชำระค่ากองทุนเงินทดแทนจะต้องชำระตามใบประเมินประจำปี
ค่าเบี้ยปรับให้นำยอดที่ต้องชำระ คูณ 3% ต่อเดือน (เศษเกินเดือน นำมาหารด้วยจำนวน 30 วัน)