บัญชีและภาษีที่เกี่ยวข้องกับคลินิกเสริมความงาม คลินิกทันตกรรม คลินิกรักษาโรคทั่วไป

บัญชี ภาษี คลินิก

ความรู้เบื้องต้นการทำบัญชี ยื่นภาษี การวางระบบบัญชี สำหรับ คลินิกเสริมความงาม คลินิกทันตกรรม คลินิกรักษาโรคทั่วไป มีรายการรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง รวมทั้งภาษีต่างๆ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทั้งในรูปแบบของบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ที่มีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 ของบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (ญ) การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

ส่วนกรณีที่ประกอบกิจการแต่ไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ สถานพยาบาล นอกจากผิดต่อพระราชบัญญัติสถามพยาบาล พ.ศ. 2541 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องแล้ว รายได้ที่ไดัรับ ยังถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นรายได้ที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ต้องจด VAT) ถ้ารายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

นิยามศัพท์ของคำวา “สถานพยาบาล” ตามพระราชบัญญัติสถามพยาบาล พ.ศ. 2541

สถานพยาบาล หมายความว่า สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะการประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือการประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม ทั้งนี้ โดยกระทำ เป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ แต่ไม่รวมถึงสถานที่ขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ซึ่งประกอบธุรกิจการขายยาโดยเฉพาะ

รายได้ของกิจการคลินิก

คือ รายได้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรงและรายได้เสริมต่างๆ เช่น รายได้เกี่ยวกับศัลยกรรมใบหน้า หรือการรักษา ดูแล บำรุง ผิวหน้า ฉีดโบท็อกซ์ ร้อยไหม เมโสหน้าใส รักษาสิว ฉีดสิว ลดรอยสิว แผลเป็นจากสิว รักษาสิว ฝ้า กระ รอยด่างดำ ขายครีม อาหารเสริม อุปกรณ์ต่างๆ ค่าบริการที่ปรึกษา

ค่าใช้จ่ายของกิจการคลินิก

คือ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรงและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆ เช่น ค่าจ้างแพทย์ประจำ แพทย์ Part-time เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่า ค่าซ่อมแซม ค่าส่งเสริมการขาย ค่าประกันภัย ค่าที่ปรึกษา ค่าไฟฟ้า ค่าน้าประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต

ข้อหารือที่เกี่ยวข้อง

เลขที่หนังสือ : กค 0702/5760
วันที่ : 6 กันยายน 2560
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปะ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40 (2) มาตรา 50 (1) และมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ

โรงพยาบาล ฯ ได้หารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปะ โดยมีข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ (แพทย์) ของโรงพยาบาลฯ ได้รับเงินเดือนและได้รับเงินจากการตรวจรักษาผู้ป่วยที่คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการของโรงพยาบาลฯ ซึ่งแพทย์ต้องทำสัญญาหรือตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของแพทย์เพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วย และมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วย โดยสถานพยาบาลเป็นผู้เรียกเก็บค่าตรวจรักษาแทนแพทย์ แล้วนำมาจ่ายให้กับแพทย์เพื่อแบ่งรายได้ให้สถานพยาบาล เงินได้ที่แพทย์เรียกเก็บจากผู้ป่วยทั้งจำนวนถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่เฉพาะส่วนแบ่งที่เหลือหลังจากหักส่วนแบ่งของสถานพยาบาลออก ความเข้าใจของโรงพยาบาลฯ ดังกล่าว ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร

แนววินิจฉัย

1. หากผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะได้รับค่าตอบแทนที่เป็นเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร โรงพยาบาลฯ ในฐานะผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายไว้ทุกคราวที่จ่ายเงิน ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

2. หากผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะได้รับค่าตอบแทนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

(1) กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะทำสัญญาหรือข้อตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของผู้ได้รับอนุญาตเพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วย โดยผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษาเอง และมีข้อตกลงแบ่งเงิน ค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วยให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร

(2) กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะทำสัญญาหรือข้อตกลงกับสถานพยาบาล เพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของผู้ได้รับอนุญาตเพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วย และมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วยโดยสถานพยาบาลเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษาแทนผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ แล้วนำมาจ่ายให้กับผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะเพื่อแบ่งรายได้ให้แก่สถานพยาบาลต่อไป

ทั้งกรณี (1) และ (2) ให้ถือว่าเงินที่ผู้ได้รับอนุญาตเรียกเก็บจากผู้ป่วยทั้งจำนวนเป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ มิใช่เฉพาะเงิน ส่วนแบ่งที่เหลือหลังจากหักส่วนแบ่งของสถานพยาบาลออกแล้ว

 

เลขที่หนังสือ : กค 0702/1703
วันที่ : 4 มีนาคม 2553
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปะ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(1) มาตรา 40(2) และมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ

นาย ก. ได้รับเงินเดือนและได้รับเงินจากการตรวจรักษาผู้ป่วยที่ คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการของโรงพยาบาล โดยมี หนังสือข้อตกลงการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งแพทย์เป็นผู้เรียกเก็บค่าตรวจรักษาจากผู้ ป่วยและมีการตกลงแบ่งรายได้จากค่าตรวจ รักษาให้โรงพยาบาลตามอัตราส่วนที่กำหนด เงินรายได้จากการตรวจรักษาผู้ป่วยที่คลินิก พิเศษนอกเวลาราชการดังกล่าว คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้มีเอกสารรับรองเป็นค่าตอบแทนจากการประกอบวิชาชีพอิสระ ตาม มาตรา 40(6) แห่ง ประมวลรัษฎากร ซึ่งนาย ก.ได้ยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2551 แล้ว แต่เมื่อเดือนกันยายน 2552 นาย ก. เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร นาย ก.จึงขอทราบว่า เงินได้จากการตรวจผู้ป่วยในคลินิกพิเศษนอก เวลาราชการเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด

แนววินิจฉัย

1. หากค่าตอบแทนที่แพทย์ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงาน ค่า ตอบแทนดังกล่าว ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แม้ว่างานที่ปฏิบัตินั้นจะใช้วิชาการทางการประกอบ โรคศิลปะอันเป็นวิชาชีพอิสระก็ตาม และเงินได้เนื่องจาก การจ้างแรงงาน หมายรวมถึง เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้รับ เนื่องจากการจ้างแรงงาน

2. หากค่าตอบแทนที่แพทย์ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือ ตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ซึ่งรวมถึง เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้ ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่ รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร

3. สำหรับค่าตอบแทนที่แพทย์ได้รับ ซึ่งจะถือเป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องปรากฏว่าแพทย์ได้เปิดคลินิกรักษาคนไข้เป็นการส่วนตัว หรือแพทย์ทำสัญญาหรือ ตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือและ อุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของแพทย์ เพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วยโดย แพทย์เป็นผู้เรียกเก็บค่าตรวจรักษาเองและมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วยให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร หรือแพทย์ทำสัญญาหรือตกลงกับ สถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของแพทย์เพื่อ ตรวจและรักษาผู้ป่วย และมี ข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วย โดยสถานพยาบาลเป็นผู้เรียกเก็บค่าตรวจรักษาแทนแพทย์ แล้วนำมาจ่ายให้กับแพทย์เพื่อแบ่งรายได้ให้สถานพยาบาล เงินได้ที่แพทย์เรียกเก็บจากผู้ป่วยทั้งจำนวนเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่เฉพาะส่วนแบ่งที่เหลือหลังจากหักส่วนแบ่งของสถานพยาบาลออก

กรณีตามข้อเท็จจริง หากนาย ก.ทำสัญญาหรือข้อตกลงกับ มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของนาย ก. เพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วย และมีข้อ ตกลงแบ่งค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วย โดย มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้เรียกเก็บค่าตรวจรักษาแทนนาย ก. แล้วนำมาจ่ายให้กับนาย ก. เพื่อ แบ่งรายได้ให้มหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป เงินได้ที่นาย ก.เรียกเก็บจากผู้ป่วยทั้งจำนวนเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวล รัษฎากร มิใช่เฉพาะ เงินส่วนแบ่งที่เหลือหลังจากหักส่วนแบ่งของมหาวิทยาลัยมหิดลออกแล้ว

 

รับทำบัญชี คลินิกเสริมความงาม คลินิกทันตกรรม คลินิกรักษาโรคทั่วไป สอบถามเพิ่มเติม