“Google Workspace” เป็นบริการหนึ่งของ Google ที่ออกแบบมาเพื่อองค์กรโดยเฉพาะ ใช้สำหรับบริหารจัดการองค์กร ให้สามารถทำงานร่วมกันอย่างเต็มรูปแบบ เหมาะกับธุรกิจทุกขนาด ไม่ว่าจะขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ โดยจะมีแอปพลิเคชันที่เหมาะสำหรับการทำงานต่างๆ มากมายให้เลือกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น
- Gmail – ที่สามารถตั้งเป็นชื่อโดเมนขององค์กรได้ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
- Calendar – การนัดหมายการประชุม และปฏิทินออนไลน์
- Google Drive – เพิ่มเนื้อที่ Google Drive ให้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่า Free Gmail ถึง 2 เท่า
- Docs, Sheets, Slides, Forms – เครื่องมือสำหรับทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์
- Google Meet – Video Conference ที่อัพเกรดความวสมารถมากขึ้น เช่น สามารถประชุมต่อครั้งได้ไม่จำกัดเวลา
- Admin – สามารถใช้ควบคุมความปลอดภัย และจัดการบัญชีผู้ใช้ทั้งหมดในองค์กรได้อย่างสะดวก
- นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชั่นอื่น ๆ อีกมากมาย
โดย Google Workplace จะมีแพ็กเกจหลัก 3 แบบ คือ
โดย Google Workplace จะมีแพ็กเกจหลัก 3 แบบ คือ
- Business Starter มีอัตราค่าบริการอยู่ที่ ฿113.50 THB ต่อผู้ใช้/เดือน โดยมีระยะเวลาผูกมัด 1 ปี
- Business Standard มีอัตราค่าบริการอยู่ที่ ฿113.50 THB ต่อผู้ใช้/เดือน โดยมีระยะเวลาผูกมัด 1 ปี
- Business Plus มีอัตราค่าบริการอยู่ที่ ฿681 THB THB ต่อผู้ใช้/เดือน โดยมีระยะเวลาผูกมัด 1 ปี
โดยค่าบริการ Google Workspace เรียกว่า ค่าสิทธิ (Royalty)
การใช้ Google Workplace มีภาษีอะไรที่ต้องรู้บ้าง
1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย
การที่บริษัทจ่ายเงินเพื่อใช้งานบน Google Workspace เข้าข่าย 2 กรณี คือ
- Google Workspace เป็นงานที่เป็นลิขสิทธ์ จึงเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3)
- การจ่ายค่าแพ็กเกจ Google Workspace ไปต่างประเทศเป็นการจ่ายค่าสิทธิตามข้อ 12 วรรคสอง (1) แห่งอนุสัญญาภาษีซ้อน
ดังนั้น จากทั้ง 2 กรณี สรุปได้ว่าบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายตามในอัตราร้อยละ 15 มาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ของค่าบริการ โดยต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 และนำส่งภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายดังกล่าว ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่ชำระเงินแทนผู้มีเงินได้
2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม
การจ่ายค่าแพ็กเกจ Google Workspace ถือเป็นการจ่ายค่าสิทธิ ให้กับบริษัทต่างประเทศในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเข้าข่าย 2 กรณี คือ
- มีลักษณะเป็นงานบริการ
- มีการให้บริการในต่างประเทศ และมีการใช้บริการในราชอาณาจักร
ดังนั้นบริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7 ของค่าบริการ ตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.พ.36 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
สำหรับผู้ซื้อแพ็กเกจและใช้บริการ Google Workspace จะมีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายตามในอัตราร้อยละ 15 มาตรา โดยต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 และนำส่งภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายดังกล่าว ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่ชำระเงินแทนผู้มีเงินได้ และมีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7 ของค่าบริการ ตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.พ.36 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
หากใครมีข้อสงสัยในเรื่องภาษีที่เกี่ยวข้องในการใช้บริการ Google Workspace สามารถติดต่อเราได้ที่ Fahthong
หรือแอดไลน์ FAHTHONGREG